อิสิ, อิสี หมายถึง น. ผู้แสวงคุณความดี, ฤษี, ผู้ถือบวช. (ป.; ส. ฤษิ).
[สินทอน] น. ชื่อภูเขาชั้นที่ ๒ ในหมู่เขาสัตบริภัณฑ์ที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุ. (ป. อิสินฺธร, อีสธร; ส. อีษาธร).(ดูสัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์).
น. คําเรียกผู้นําในศาสนาอิสลาม, ผู้นําในการทําละหมาด,ตําแหน่งสําคัญของคณะกรรมการบริหารมัสยิด, โต๊ะอิหม่ามก็เรียก. (อ. imam).
ว. อึดอัดใจ, ลําบากใจ, อลักเอลื่อ อาหลักอาเหลื่อ หรืออีหลักอีเหลื่อ ก็ว่า.
น. คําประกอบคําอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมียเช่น อีสาว อีเหมียว, คําประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะตํ่ากว่า,คําใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม,คําประกอบคําบางคําที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้หญิงหรือผู้หญิงที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่นอีหนู, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้น เช่น อีทีนี้จะเอาอะไรกินกันล่ะ อีตอนนั้นไม่สบายเลยไม่ได้ไป, คําประกอบหน้าคําบางคําเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น อีบ้า อีงั่ง อีควาย, คําใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น เอาอีนี่ออกไปซิ, (โบ) คํานําหน้าชื่อผู้หญิงสามัญชนทั่วไป เช่น อีอยู่อีคงทาษภรรยาพระเสนานน. (สามดวง), ถ้าใช้ในทางเสียหายโดยเฉพาะทางด้านชู้สาวมักใช้ว่า อี่ เช่น หย่างไอ้ดีบวดอยู่วัดโพเสพเมถุนธรรมด้วยอี่ทองมาก อี่เพียน อี่พิ่ม อี่บุนรอดอี่หนู อี่เขียว. (สามดวง).
น. คำที่ใช้ด่าผู้หญิง.
น. คําประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน;คําประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ในการเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.
(โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่าลูกเอื้อย, คู่กับ คําที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.